ก้าวแรกบนถนนธุรกิจ

ธุรกิจ SMEs ดูเหมือนเป็นเรื่องยากสำหรับผู้เริ่มต้น คนเหล่านี้มักมีคำถามเกิดขึ้นมากมายว่า ควรเริ่มต้นจากจุดไหนก่อน แล้วทำอย่างไรต่อไปจึงจะประสบความสำเร็จ แนวทางการเริ่มต้นธุรกิจ เราควรเริ่มจากการหาข้อมูลใน 3 ด้านใหญ่ๆ คือ กำลังของตนเอง ตลาดลูกค้าและคู่แข่ง จากนั้น จึงไปสู่การจัดตั้งองค์กร ซึ่งในแต่ละด้านมีรายละเอียดปลีกย่อย ดังนี้

วัดกำลังตนเอง
การรู้จักตน โดยประเมินว่าตนเองมีคุณสมบัติที่จะทำธุรกิจนั้น ๆ หรือไม่ เช่น มีความรู้ ความสามารถ มีความอดทน ขยัน ซื่อสัตย์ ยอมรับความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ดังเช่น กล้านำเงินออมที่เก็บทั้งชีวิตมาลงทุน เป็นต้น และที่สำคัญ คือ ต้องหนักแน่น จริงจัง และกล้าตัดสินใจ

เลือกประเภทธุรกิจที่เหมาะสมกับตนเอง
โดยดูจากความชอบ ความถนัด ความสนใจของตนเองเป็นหลัก เพราะงานที่ตนรัก จะทำให้ผู้ประกอบการอยากแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ทางธุรกิจ

สำรวจฐานะทางการเงิน
ว่าตนเองมีเพียงพอหรือไม่ การเงินควรจัดแบ่งออกเป็นส่วน ๆ เช่น แบ่งไว้สำหรับใช้จ่ายในครอบครัว แบ่งเป็นเงินฝากไว้กับธนาคารเพื่อใช้ในยามจำเป็น และแบ่งไว้สำหรับการออมเพื่อการลงทุน อาจเป็นการลงทุนระยะสั้น และระยะยาว เช่น การซื้อพันธบัตรรัฐบาล เมื่อจัดแบ่งเป็นส่วนต่าง ๆ แล้ว เราจะเห็นว่าตนเองมีเงินเพียงพอเพื่อทำธุรกิจหรือไม่ หรือต้องหาจากแหล่งเงินกู้อื่น ๆ

มีทำเลที่ตั้ง
ถ้าผู้เริ่มต้นธุรกิจมีสถานที่เป็นของตนเอง และอยู่ในทำเลที่ดีก็ไม่มีปัญหา แต่หากผู้เริ่มต้นยังไม่มี ควรมองหาทำเลที่เหมาะสมกับธุรกิจ เช่น ย่านศูนย์การค้า ชุมชน อยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ เป็นต้น และเรายังต้องคำนึงต่อด้วยว่า ทำเลควรใช้วิธีซื้อ หรือเช่าดี โดยดูที่เงินทุนว่ามีเพียงพอหรือไม่ หากเรามีเงินน้อย ก็ควรใช้วิธีเช่าจะดีกว่า ทั้งนี้ ผู้เริ่มต้นธุรกิจควรดูถึงรายละเอียดของสัญญา ว่าคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ เพียงไรสอดส่องตลาดลูกค้า-คู่แข่ง

รู้ข้อมูลของลูกค้า
ผู้เริ่มต้นธุรกิจควรสำรวจความต้องการสินค้าหรือบริการ ว่ามีมากน้อยเพียงใด เหมาะกับลูกค้ากลุ่มใด วัยใด ชาย หรือหญิง เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับการผลิตต่อไป

รู้ข้อมูลของคู่แข่ง
รกิจในปัจจุบันมีมากมาย เราจำเป็นต้องทราบว่า คู่แข่งของเราเป็นอย่างไร จุดเด่น จุดด้อยของเขาอยู่ตรงไหน แต่การรู้มูลของคู่แข่งไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากต่างฝ่ายต่างปิดบังข้อมูลเหล่านี้ การจัดตั้งธุรกิจ

เมื่อเราประเมินตนเองและประเมินตลาดแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการจัดตั้งธุรกิจ วิธีจัดตั้งธุรกิจแบ่งเป็นส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ ดังนี้

การตั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายของธุรกิจ ต้องมีความชัดเจน ว่าธุรกิจทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ผลที่คาดว่าจะได้รับ โดยผู้เริ่มต้นธุรกิจต้องคำนึงว่า เมื่อตั้งขึ้นมาแล้วจะสามารถทำตามได้หรือไม่

รูปแบบขององค์กร รูปแบบขององค์กรมีหลายลักษณะคือ เป็นเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท ความรับผิดชอบของทั้ง 3 ลักษณะจะต่างกันไป คือ เจ้าของคนเดียว จะรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียวในทุกเรื่อง ห้างหุ้นส่วนคือมีหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ความรับผิดชอบของแต่ละคนมากน้อยต่างกันไปตามอัตราส่วนที่ตกลงกันไว้ ส่วนผู้ที่ลงทุนด้วยรูปแบบบริษัท ก็ต้องมีสมาชิกก่อตั้งจำนวน 7 คนขึ้นไป และผลตอบแทนที่ได้จะอยู่ในรูปของเงินปันผล

การหาแหล่งเงินทุน ปกติเงินทุนมาจาก 2 แหล่งใหญ่ๆ คือ เงินทุนที่อยู่ในมือ และเงินทุนที่มาจากการกู้ยืม สำหรับการขอกู้เงิน หากเป็นนักลงทุนรายใหม่อาจเป็นเรื่องยาก เนื่องจากไม่ได้รับความเชื่อถือ ดังนั้น การสร้างเครดิตหรือความน่าเชื่อถือให้กับตัวเองจึงเป็นเรื่องสำคัญ และสิ่งที่ยืนยันความน่าเชื่อถือของเราได้คือ ผลการดำเนินงานของกิจการที่ผ่านมา รวมถึงสถานะทางการเงิน เช่นงบการเงินต่าง ๆ ประมาณการกำไรที่คาดว่าจะได้รับ

สินค้าหรือบริการที่จะผลิต ต้องสอดคล้องกับข้อมูลความต้องการของลูกค้า และที่สำคัญ สินค้าควรมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ไม่เหมือนใคร
การจัดจำหน่ายสินค้า ผู้เริ่มต้นธุรกิจควรดูความเหมาะสมของตลาดว่า จะจัดจำหน่ายในลักษณะใด เช่น ขายให้กับผู้บริโภคโดยตรง ผ่านพ่อค้าคนกลาง มีผู้แทนจำหน่าย หรือหลายวิธีรวมกัน เป็นต้น

การจัดการทางการเงิน คือ การวางแผนการใช้จ่ายเงิน ให้เงินหมุนเวียนไหลคล่องตลอด สิ่งที่ช่วยให้รู้ฐานะการเงินของเรา คือ การทำบัญชี งบการเงิน ไม่ว่าจะเป็น งบดุล งบกำไรขาดทุน ประมาณการรายรับรายจ่าย เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้เริ่มต้นธุรกิจยังต้องแบ่งส่วนเงินทุนหมุนเวียนไว้ เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายภายในกิจการ เช่น เงินเดือนพนักงาน เงินจัดซื้อวัตถุดิบ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เงินเหล่านี้ต้องควบคุมให้พอใช้ไม่ขาดมือ เพราะถ้าผู้ประกอบการสะดุดกับภาวะการเงิน กิจการอาจหยุดชะงักลงได้

พนักงาน เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้กิจการประสบความสำเร็จหรือไม่ ถ้านายจ้างสามารถดูแลได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม พนักงานก็จะมีขวัญ และกำลังใจที่ดีในการทำงาน ผลที่ตามมา กิจการจะเจริญรุดหน้า

แหล่งข้อมูลอ้างอิง นันทินาถ อมรประสิทธิ์, “การดำเนินธุรกิจ SMEs,” คู่มือดำเนินธุรกิจ SMEs,
จัดพิมพ์โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กรงเทพฯ : สำนักพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรม, 2543),
หน้า 3-1 - 3-19.ก้าวแรกบนถนนธุรกิจ เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจ โดยใช้เป็นแนวทางวัดและเตรียมความพร้อมของตนเองในด้านต่างๆ ก่อนลงสู่สนามแข่งขันทางการค้าคำไข เคล็ดลับ , SMEs , การเริ่มต้นธุรกิจ
 

สถาบันสอนลีลาศ

บทสรุปผู้บริหาร

กิจกรรมการเต้นลีลาศ เป็นทั้งกิจกรรมสันทนาการและกิจกรรมการออกกำลังกายซึ่งเหมาะสำหรับคนทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่อายุ 7-8 ขวบไปจนถึง 70-80 ปี และยังมีหลายจังหวะให้เลือกตามความชื่นชอบของแต่ละคน ซึ่งจะเห็นได้ว่าขนาดตลาดของลีลาศที่มีแนวโน้มสูง (Potential Market) นั้นมีขนาดใหญ่มาก ในขณะที่ผู้ประกอบการลีลาศทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบันมีไม่มากนัก และแนวทางในการทำตลาดและการดำเนินธุรกิจยังคงเป็นรูปแบบเดิมๆ ซึ่งนำเสนอรูปแบบสินค้าและบริการที่ไม่แตกต่างกัน และไม่มีการจับกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน นอกจากนี้ ปัจจุบันทางภาครัฐฯ ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ของการเต้นลีลาศ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นอกจากจะช่วยให้ผ่อนคลายความเครียดแล้ว ยังช่วยให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น ภาครัฐฯ จึงได้ร่วมกับสมาคมกีฬาลีลาศแห่งประเทศไทยในการผลักดันให้การเต้นลีลาศกลับมาเป็นที่นิยมในวงกว้างอีกครั้งหนึ่ง เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 30-40 ปีที่แล้ว อีกทั้งกระแสการเต้นรำจังหวะละตินอเมริกา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเต้นลีลาศได้กลับมาได้รับความนิยมในหมู่คนรุ่นใหม่ จึงเป็นช่องว่างทางการตลาดในการประกอบธุรกิจโรงเรียนสอนลีลาศ โดยมุ่งเน้นที่ตลาดกลุ่มคนรุ่นใหม่ซึ่งอยู่ในกลุ่มวัยทำงานตอนต้นและกลุ่มวัยรุ่นตอนปลายที่มีรูปแบบการใช้ชีวิต (Life Style) ชอบการสังสรรค์กับเพื่อนซึ่งเป็นโอกาสที่ดีในการนำเสนอบริการสอนเต้นลีลาศ อีกทั้งยังเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงทั้งในด้านขนาดของตลาด และอำนาจซื้อ ซึ่งยังไม่มีผู้ประกอบการใดให้ความสนใจในกลุ่มนี้อย่างชัดเจน

อย่างไรก็ตาม การดำเนินธุรกิจโรงเรียนสอนลีลาศจะเผชิญกับอุปสรรคสำคัญในด้านภาพลักษณ์ของลีลาศ ซึ่งคนทั่วไปเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ มองว่าเป็นกิจกรรมของผู้สูงอายุและไม่ทันสมัย จึงทำให้การเต้นลีลาศไม่เป็นที่แพร่หลายและจำกัดอยู่ในกลุ่มผู้บริโภคบางกลุ่ม อีกทั้งยังมีปัญหาขาดแคลนครูผู้สอนที่มีความสามารถในตลาดอีกด้วยจากโอกาสทางการตลาดและอุปสรรคของการประกอบธุรกิจโรงเรียนสอนลีลาศดังกล่าว ทางบริษัทฯ จึงได้จัดตั้ง "The Dance Studio" ซึ่งเป็นสถาบันสอนลีลาศสำหรับคนรุ่นใหม่ที่มีรูปแบบทันสมัย ภายใต้แนวคิด "The Dance Studio gives you Fun, Fitness & Friends" ประกอบกับการดำเนินกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดโดยเน้นที่การปรับเปลี่ยนทัศนคติของกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้กลยุทธ์หลักคือ การให้กลุ่มเป้าหมายทดลองเรียน และการจัด Mini-Workshop เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้ามาสัมผัสกับการเต้นลีลาศ เนื่องจากเชื่อว่า ถ้าได้ลองเต้นลีลาศแล้วจะติดใจ (จากผลการวิจัยแบบสำรวจโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก - Depth Interview จากผู้ที่ชื่นชอบการเต้นลีลาศ) นอกจากนี้ การตกแต่งสถานที่ ทำเลที่ตั้ง เพลงที่ใช้ การแต่งกายของพนักงานและครูผู้สอน แผนการสื่อสารทางการตลาด รวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างทั้งที่เป็นรูปธรรม (Tangibles) และนามธรรม (Intangibles) นั้นจะไปในทางเดียวกัน คือ ความทันสมัย เพื่อให้ภาพลักษณ์ของ The Dance Studio ดูทันสมัยเหมาะสำหรับคนรุ่นใหม่ อีกทั้งยังมุ่งเน้นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว โดยการจัดกิจกรรมต่างๆ ขึ้น เพื่อสร้างสังคม (Community) ให้เกิดขึ้นในกลุ่มลูกค้า เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกผูกพันในระยะยาวกับทางสถาบัน และเกิดการซื้อซ้ำอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ การจับกลุ่มเป้าหมายทั้ง 2 กลุ่มดังกล่าว ผนวกกับการใช้กลยุทธ์การกำหนดราคาจะช่วยลดปัญหาในด้านความต้องการที่มีลักษณะเป็นฤดูกาลได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ กลุ่มลูกค้าในวัยทำงานตอนต้นจะมาใช้บริการในช่วงนอกเวลาทำงานเท่านั้น ในขณะที่กลุ่มวัยรุ่นตอนปลายซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นนิสิตนักศึกษา สามารถมาใช้บริการในช่วงเวลาทำงานได้ ซึ่งจะทำให้การบริหารฟลอร์เต้นรำดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในเบื้องต้น ทางสถาบันจะเปิดเพียง 1 สาขาที่สยามสแควร์ ซึ่งเป็นแหล่งศูนย์รวมของกลุ่มเป้าหมายและเป็นทำเลที่เดินทางมาสะดวก โดยเงินลงทุนในโครงการทั้งสิ้น 2,700,000 บาท มีแหล่งเงินทุนมาจากทุนจดทะเบียน 1,500,000 บาท และเงินกู้ยืมธนาคาร 1,200,000 บาท ซึ่งประกอบด้วยเงินกู้ระยะยาว 400,000 บาท และเงินกู้เงินทุนหมุนเวียนในรูปตั๋วสัญญาใช้เงิน 800,000 บาทThe Dance Studio เป็นสถาบันสอนลีลาศ ซึ่งมีความโดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่งในตลาด มีการใช้ส่วนประสมทางการตลาดที่ลงตัวซึ่งจะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้บริโภคในระยะยาว อีกทั้งสถาบันยังมีการจัดการทรัพยากรบุคคลที่ดี ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องถึงการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ โครงการ The Dance Studio ดังกล่าว มีผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงในอัตราร้อยละ 38 และมีการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นหลังจากดำเนินการได้ 2.5 ปี ในอัตรา 2.11 บาท/หุ้น และมีการจ่ายปันผลสูงขึ้นทุกปี จึงเห็นได้ว่าโครงการ The Dance Studio เป็นโครงการที่มีความน่าสนใจลงทุนไม่น้อย

ที่มา http://www.ismed.or.th
วุฒิพงษ์ จารุสมานกิจ และคณะ.(2545)."สถาบันสอนลีลาศ The Dance Studio." โครงการทางธุรกิจประเภทแผนธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
 

ร้านเครื่องดื่มสมุนไพรเฮอร์บี้ดริ้ง

บทสรุปผู้บริหาร

บริษัท เฮลท์ตี้ดริ้ง จำกัด เป็นบริษัทที่เปิดดำเนินธุรกิจการจำหน่ายเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ภายใต้ยี่ห้อเฮอร์บี้ดริ้ง ในลักษณะของซุ้มจำหน่ายเครื่องดื่ม (Kiosk) ตามจุดต่างๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร โดยจะเริ่มเปิดดำเนินการในเดือนกรกฎาคม 2543 เนื่องจากมองเห็นโอกาสธุรกิจจากการที่ตลาดเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ กำลังได้รับความนิยมอย่างสูง โดยมีมูลค่าตลาดสูงถึง 2,700 ล้านบาท และมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 10-15% ต่อปี ประกอบกับผู้บริโภคให้ความสนใจในเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น รวมทั้งรูปแบบการดำเนินชีวิตในปัจจุบันต้องทำงานแข่งกับเวลา ทำให้ร้านเฮอร์บี้ดริ้งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วในการบริโภคเครื่องดื่มสมุนไพรกลุ่มเป้าหมายหลักของร้านเฮอร์บี้ดริ้งเป็นวัยทำงานตอนต้นถึงกลุ่มผู้บริหารระดับกลางและผู้บริหารระดับสูง (ช่วงอายุ 25-59ปี) โดยมีรายได้ตั้งแต่ 9,001 บาทขึ้นไป และมีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ชอบความแปลกใหม่ มีความห่วงใยในสุขภาพ คำนึงถึงรสชาติ และให้ความสำคัญกับตรายี่ห้อ จัดเป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่พอสมควร ส่วนกลุ่มเป้าหมายรองมีสองกลุ่ม คือ กลุ่มนักศึกษาและวัยเริ่มทำงาน (ช่วงอายุ 20-24 ปี) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางและสนใจที่จะทดลองสิ่งใหม่ๆ และกลุ่มที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความสนใจในสุขภาพมากและมีประสบการณ์การดื่มน้ำสมุนไพรมาก่อน จึงมีโอกาสที่จะให้ลูกหลานซึ่งก็คือกลุ่มเป้าหมายหลักซื้อมาให้ดื่มการวางตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ของเฮอร์บี้ดริ้ง จัดอยู่ในระดับสินค้าคุณภาพสูง (Premium Goods) โดยเน้นที่ความมีประโยชน์ต่อสุขภาพ การมีสรรพคุณที่หลากหลายตามความต้องการ รสชาติอร่อย และความสดใหม่ของสินค้า โดยเสริมด้วยความแปลกใหม่ของผลิตภัณฑ์ และความสะดวกในการบริโภค ภายใต้คำขวัญ "สุขภาพเยี่ยม เต็มเปี่ยมด้วยคุณภาพและความอร่อย"ผลิตภัณฑ์ของร้านเฮอร์บี้ดริ้งแบ่งตามสรรพคุณเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มระบาย กลุ่มบำรุงผิวพรรณ กลุ่มแก้ร้อนใน และกลุ่มรักษาระบบหมุนเวียนโลหิต โดยมีผลิตภัณฑ์ประกอบด้วย 2 รูปแบบหลัก คือ รูปแบบเย็นใส่น้ำแข็ง (Herby Drinks) ขนาด 400 ซีซี ราคา 30 บาท (แบบปั่น 35 บาท) และรูปแบบเย็นไม่ใส่น้ำแข็ง (Herby Cool) ขนาด 200 ซีซี ราคา 20 บาท ใส่ในบรรจุภัณฑ์แบบถ้วยปิดสนิท และรูปขวด (Herby Deli) ขนาด 500 ซีซี ราคา 45 บาท สามารถนำกลับบ้านไปรับประทานได้การจัดจำหน่ายสินค้าของบริษัทผ่านช่องทางหลัก คือ ซุ้มจำหน่ายเครื่องดื่ม (Herby Kiosk) ซึ่งมีเป้าหมายการขยายสาขาที่เป็นเจ้าของเองให้ได้ 25 สาขาใน 3 ปี และช่องทางอื่นๆ ที่จะขยายตามมา คือ ร้านค้าขนาดย่อยที่เกี่ยวกับสุขภาพ (Health Channel) ได้แก่ สถานพยาบาลต่างๆ จำนวน 20 แห่ง และ Fitness Club ขนาดใหญ่ 15 แห่ง และในปี 2004 จะขยายสู่ร้านค้าขนาดใหญ่ (Discount Store) จำนวน 27 สาขา บริษัทมีแผนการลงทุนผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพออกจำหน่าย โดยลงทุนในเรื่องของการซื้อเครื่องจักรเพื่อใช้ในการผลิต และเช่าบ้านเพื่อทำเป็นโรงงานผลิต คลังสินค้า และสำนักงาน เนื่องจากเครื่องดื่มของร้านเฮอร์บี้ดริ้งได้ผ่านการขอเลขทะเบียนอาหารและยา (อย.) กับหน่วยงานทางราชการและผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทำให้ผู้บริโภคสามารถมั่นใจในคุณภาพและกรรมวิธีผลิตที่ถูกต้องตามหลักวิธีการผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practice)

สำหรับเงินลงทุนที่ใช้ในการดำเนินการขั้นต้น คือ 4,000,000 บาท โดยจะเป็นเงินลงทุนของผู้ถือหุ้นจำนวน 2,000,000 บาท และจากการกู้ 2,000,000 บาท การประมาณการผลกำไรจากการดำเนินงานนั้น กิจการจะเริ่มทำกำไรในปีที่ 3 ของการประกอบการ ระยะเวลาที่กิจการจะคุ้มทุนประมาณปีครึ่ง โดยการพิจารณางบกระแสเงินสดจะพบว่าอัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับเมื่อกิจการดำเนินการครบ 5 ปี (IRR) คือ 91%ทางทีมงานมีแผนสำรองกรณียอดขายไม่เป็นไปตามเป้าหมาย หรือผลิตภัณฑ์บางตัวไม่เป็นที่ถูกใจผู้บริโภค โดยทำการปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์สมุนไพร ผักและผลไม้ชนิดอื่นเข้ามาแทนที่ หรือทำการหาช่องทางการจัดจำหน่ายเพิ่มเติม เช่น ร้านอาหาร งานประชุมสัมมนา คณะทัวร์ต่างๆ งานรับน้อง งานศพ นอกจากนี้ จะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพชนิดอื่นๆ เช่น ไอศกรีมสมุนไพร เจลลี่สมุนไพร

ที่มา http://www.ismed.or.th/
แผนธุรกิจจากโครงการทางธุรกิจประเภทแผนธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 
 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2011. BOX20-09 - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger