ขายปลาสวยงาม

เงินลงทุนครั้งแรก ประมาณ 20,000 - 30,000 บาท

วัสดุ/อุปกรณ์
ตู้เลี้ยงปลา เครื่องทำออกซิเจน ตู้พักปลา กระชอนช้อนปลา เครื่องดูด/ถ่ายน้ำ เครื่องกรองน้ำ อาหารปลา และอุปกรณ์ประดับตู้ปลา

แหล่งจำหน่ายพันธุ์ปลา/อุปกรณ์ บางบัว เขตบางเขน สวนจตุจักร

วิธีดำเนินการ
1. หาซื้อตู้เลี้ยงปลาขนาดใหญ่ ประมาณ 2-3 ตู้ แล้วล้างน้ำให้สะอาด
2. นำตู้ปลาไปตั้งในที่จัดเตรียมไว้ บรรจุหิน ปะการังและต้นไม้น้ำ ตกแต่งให้สวยงาม ติดตั้งเครื่องกรองน้ำ และเครื่องทำออกซิเจนลงในตู้
3. ใส่น้ำลงในตู้ปลาให้เกือบเต็ม โดยใช้เครื่องดูดน้ำจากน้ำสะอาดที่เตรียมไว้แล้วในอีกภาชนะหนึ่ง
4. นำพันธุ์ปลาที่เป็นที่นิยมของตลาด เช่น ปลาเงินปลาทอง ปลาคราฟ ปลาบอลลูน ปลาเทวดา ฯลฯ มาใส่ในตู้พักปลา เพื่อปรับสภาพหลังการ เคลื่อนย้าย
5. เมื่อปลาแข็งแรงดีแล้ว ใช้กระชอนค่อยๆ ช้อนปลาลงในตู้ปลาที่จัดเตรียมไว้ในปริมาณที่เหมาะสมกับเนื้อที่ว่างของตู้
6. ให้อาหารปลาเป็นเวลาอย่างสม่ำเสมอ ในปริมาณที่พอเหมาะวันละ 1 ครั้ง หากปลากัดกันให้แยกออก หรือปลาเป็นโรคให้แยกปลาไว้ต่างหากแล้วใช้ยารักษา และเปลี่ยนน้ำใหม่ในตู้ปลา หมั่นเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาทุกวัน

ตลาด/แหล่งจำหน่าย ย่านชุมชน หรือใกล้สถานศึกษา

สถานที่ให้คำปรึกษา
1. สถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงาม กรมประมง โทร.558-0172
2. ประมงจังหวัดทุกจังหวัด

ข้อแนะนำ
1. ผู้ประกอบอาชีพนี้ ควรเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของปลา โดยศึกษาจากหนังสือ หรือสอบถามผู้มีความรู้ เพื่อสามารถเลี้ยงได้ถูกวิธี และแนะนำลูกค้าได้
2. น้ำที่ใส่ในตู้ปลา หากจำเป็นต้องใช้น้ำประปา ควรรองน้ำทิ้งไว้ ก่อนนำไปใช้
3. ควรมีอุปกรณ์ประดับตู้ปลา อาหาร และยารักษาปลาจำหน่ายร่วมด้วย เพื่อเพิ่มรายได้

ที่มา http://www.ismed.or.th
ส่งเสริมการมีงานทำ, กอง กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม, "ขายปลาสวยงาม," 150 อาชีพเส้นทางประกอบอาชีพอิสระ. กรุงเทพฯ ,2544 , หน้า 217.
 

อุตสาหกรรมกระจก

กระจกเป็นวัสดุก่อสร้างที่ทำให้งานก่อสร้าง บ้าน อาคาร สำนักงาน และเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้กระจกตกแต่ง สวยงาม โดนเด่น ประหยัด ประหยัด และปลอดภัย ปัจจุบันมีโรงงานผลิตกระจกแผ่นเรียบ 3 บริษัทจำนวน 8 โรงงาน ตั้งอยู่ในจังหวัดสระบุรี สมุทรปราการ ชลบุรี และระยอง มีกำลังการผลิตประมาณ 842,000 ตัน/ปี เกิดการจ้างแรงงาน 2,800 คน เงินลงทุน 15,726 ล้านบาท อุตสาหกรรมกระจกมีการรวมตัวเป็นกลุ่มบริษัท โดยใช้การผลิตเทคโนโลยีสมัยใหม่และเป็นแบบสำเร็จรูป รับทั้ง know-how และเครื่องจักรมาจากต่างประเทศ ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตเทียบได้ในระดับสากล โดยใช้วัตถุดิบที่ผลิตได้ในประเทศเป็นหลัก เช่น ทรายแก้ว เฟลด์สปาร์ โดโลไมต์ และหินปูน ทั้งยังก่อให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมกระจกนิรภัย กระจกเงา และการแปรรูปกระจกอีกประมาณ 15 โรงงาน การจ้างงานกว่า 1,500 คน เงินลงทุน 4,580 ล้านบาท แต่จากข้อจำกัดของเทคโนโลยีที่ไม่มีความยืดหยุ่นในการผลิตและเป็นการอุตสาหกรรมที่อาศัยปัจจัยทางด้านพลังงานเป็นสำคัญ เพราะต้องเดินเครื่องจักร ตลอด 24 ชั่วโมงทำให้มีจุดคุ้มทุนสูง ประกอบกับเป็นอุตสาหกรรมที่ตอบสนองความต้องการใช้ภายในประเทศเป็นหลัก

ผลิตภัณฑ์กระจกแผ่น

ผลิตภัณฑ์กระจกขั้นพื้นฐาน

กระจกโฟลตใส (Clear Float Glass)
กระจกโฟลตสีตัดแสง (Tinted Float Glass)
กระจกลวดลาย (Figured Glass)
กระจกชนิดบางพิเศษ (Ultra Thin Glass)
กระจกชนิดใสพิเศษ (Ultra Clear Glass)
กระจกชนิดผิงเรียบพิเศษ (Ultra Flat Glass)
โครงสร้างผนังกระจกสูงขนาดใหญ่ (Glacade)


ผลิตภัณฑ์กระจกแปรรูป


กระจกฝ้า (Ground Glass)
กระจกเงา (Mirror)
กระจกสะท้องแสง (Heat Reflective Glass)
กระจกฉนวนความร้อน (Insulating Glass Unit)
กระจกฉนวนความร้อน โลว-อี (Low-E Insulating Glass Unit)
กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Safety Glass)
กระจกกึ่งนิรภัย (Heat Strengthened Glass)
กระจกนิรภัยหลายชั้น (Laminated Safety Glass)
กระจกเคลือบสี (Vanished Glass)

การผลิต

กำลังการผลิตรวม 842,000 ตัน/ปี ในปี 2545 ปริมาณการผลิตประมาณร้อยละ 80

การส่งออก

ในปี 2545 การส่งออกกระจกแผ่นสำหรับการก่อสร้าง มีมูลค่าประมาณ 6,040 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2544 ร้อยละ 24.62

การนำเข้า

ในปี 2545 การนำเข้ากระจกแผ่นสำหรับการก่อสร้าง มีมูลค่าประมาณ 1,105.5 ล้านบาท เพิ่มมากขึ้นจากปี 2544 ร้อยละ 31.28

ตลาด

ประเทศที่ไทยนำเข้ากระจกแผ่นสำหรับการก่อสร้างที่มีมูลค่ามากที่สุด ได้แก่ ญี่ปุ่น คือมีมูลค่า 309.1 ล้านบาท รองลงมาได้แก่ สหรัฐอเมริกา และ มาเลเชีย มีมูลค่า 168.8 และ 121.1 ล้านบาทตามลำดับ


จากการใช้นโยบายการค้าเสรี ซึ่งได้มีการปรับเปลี่ยนเพื่อปฏิบัติตามข้อตกลงต่าง ๆ ทำให้มีผลกระทบต่อธุรกิจในประเทศ เช่น การปรับลดอากรขาเข้าในภูมิภาคอาเชียนเป็นเหตุให้ต่างประเทศเข้ามาแย่งตลาดภายในประเทศได้ประมาณร้อยละ 10-13 ต่อปี คู่แข่งของไทยในภูมิภาคนี้ คือ อินโดนีเชีย และมาเลเชีย

ปัญหาและอุปสรรค


1. ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง และเงินลงทุนจำนวนมาก
2. ปัญหา Over Supply ของอุตสาหกรรมกระจก
3. ขาดการกำกับดูแลให้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร
4. ผู้ออกแบบ/ผู้เกี่ยวข้อง ขาดความรู้ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์กระจก แต่ละชนิด
5. การทุ่มตลาดจากต่างประเทศ

ยุทธศาสาตร์/แนวทางแก้ไขปัญหาที่ภาคอุตสาหกรรมเห็นว่ารัฐบาลควรดำเนินการ


1. สนับสนุนให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มความต้องใช้กระจกในประเทศ
2. กำกับ ดูแลมีการให้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร ของกรมโยธาธิการอย่างจริงจัง
3. ส่งเสริม/ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในผลิตภัณฑ์กระจกแก่ผู้ออกแบบ/ผู้เกี่ยวข้อง อย่างกว้างขวาง
4. กำหนดให้ผู้รับเหมาโครงการใช้วัสดุก่อสร้างที่ได้มาตรฐานและมีการผลิตในประเทศเป็นหลัก
5. แผนงาน/โครงการก่อสร้างของภาครัฐควรเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ภาคเอกชนทราบอย่างทั่วถึง

ข้อเสนอแนะ


1. จัดทำฐานข้อมูลสำหรับโครงการก่อสร้างในอนาคต ทั้งของภาครัฐและเอกชน ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน อาคารสูง ที่พักอาศัย และอื่นๆ รวมทั้งฐานข้อมูลโครงการต่างๆ ในอุตสาหกรรมที่มีกระจกเป็นวัตถุดิบในการผลิต เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น เพื่อผู้ประกอบการจะสามารถนำมาใช้ในการคาดการณ์ปริมาณความต้องการการใช้กระจกในอนาคต
2. แนวทางการจัดแสดงสินค้าควรนำกฏหมายเกี่ยวกับอาคารและการก่อสร้างมาเป็นวัตถุประสงค์หลัก เพื่อความเข้าใจของผู้บริโภคสำหรับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและเป็นไปตามกฎหมาย โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์กระจกมีข้อกฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้อง การเลือกซื้อหรือติดตั้งกระจกให้ถูก
3. แนวทางปฏิบัติสำหรับ Anti Dumping ปัจจุบันการเปิดไต่สวนกรณีการทุ่มตลาดของประเทศไทยนั้น ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือที่เพียงพอจากรัฐบาลเหมือนต่างประเทศ กล่าวคือ รัฐฯ ควรช่วยในเรื่องการทุ่มตลาด โดยการหาข้อมูลของประเทศที่ทุ่มตลาดเข้ามาในไทยและผู้ผลิตในประเทศให้แสดงเพียงความเสียหายที่เกิดขึ้น เช่น ยอดขายลดลง ขาดทุนจากที่เคยได้กำไร
นอกจากนั้นเมื่อรัฐฯ รับเรื่องมาว่ามีมูล ควรหามาตรการเพื่อชะลอปริมาณการนำเข้าจนกว่าคดีจะยุติ เพื่อชะลอความเสียหายที่จะเกิดเพิ่มมากขึ้นกับผู้ผลิตภายในประเทศ

โครงการรองรับ

1. ฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้ออกแบบ/ผู้เกี่ยวข้อง/ผู้สนใจ ทั้งหน่วยงาน ภาครัฐและเอกชน
2. ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การใช้ผลิตภัณฑ์กระจกผ่านสื่อต่าง ๆ
3. ศึกษา วิจัย การประหยัดพลังงานในอาคารและที่อยู่อาศัย
4. ศึกษา วิจัย การใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดต้นทุนการผลิตในประเทศ

ประโยชน์ที่จะได้รับ


1. ผู้ออกแบบ/ผู้เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์กระจกและนำไปใช้งานได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
2. การใช้ผลิตภัณฑ์กระจกในธุรกิจสังหาริมทรัพย์ เฟอร์นิเจอร์ ในประเทศเพิ่มสูงขึ้น
3. อุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้กระจกเป็นวัตถุดิบในการผลิตเพิ่มขึ้น
4. การจ้างงานในอุตสาหกรรมกระจกเพิ่มสูงขึ้น
5. ลดปริมาณและมูลค่าการนำเข้ากระจกจากต่างประเทศ

ที่มา : http://www.ismed.or.th
เอกสารของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เสนอต่อคณะอนุกรรมการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมรายสาขา กระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2546
 

อุตสาหกรรมอิฐก่อสร้าง

1. ลักษณะโดยทั่วไป

การทำอิฐก่อสร้างได้ทำกันมานานแล้ว โดยทำกันเป็นอุตสาหกรรมในครอบครัวในแถบชนบท ขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้างตามความนิยมของทิ้งถิ่น ต่อมาได้มีการตั้งโรงงานใช้เครื่องจักรทำกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน การผลิตทำได้ในปริมาณที่มากขึ้น

วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตได้แก่ ดินเหนียว ทราย แกลบ น้ำ และเชื้อเพลิง เช่น ฟืน กรรมวิธีการผลิตโดยทั่วไป คือ การนำเดินเหนียวมาหมักและนวดผสมจนได้ที่ แล้วเอามาปั้นหรือพิมพ์ให้ได้ขนาดตามที่ต้องการเสร็จแล้วจึงเอาไปผึ่งลมหรือแดด เมื่อแห้งจึงนำไปเผาในเตาเผาอิฐจนสุก แล้วปิดเตาเพื่อให้ความร้อนค่อย ๆ เย็นลง เมื่อเตาเย็นแล้วจึงขนอิฐออกมา เพื่อนำไปใช้งานต่อไป

สีของอิฐที่เผาแล้วจะมีสีแตกต่างกันออกไป อันเนื่องมาจากสาเหตุ ได้แก่ ส่วนผสมขอเหล็กอ๊อกไซด์ หรือแมงกานีสอ๊อกไซด์ในเนื้อดินเหนียว ความแห้งของเนื้อดินก่อนที่จะเผา

2. ต้นทุนการผลิต
อุตสาหกรรมอิฐก่อสร้างจะใช้วัตถุดิบภายในประเทศทั้งหมด ซึ่งสามารถหาได้โดยทั่ว ๆ ไป ตามท้องถิ่นต่าง ๆ ในประเทศไทย ซึ่งสามารถแสดงโครงสร้างของต้นทุนต่าง ๆ ให้เห็นได้คร่าว ๆ ดังนี้

3. ลักษณะอุตสาหกรรม
ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน (จ้างงานต่ำกว่า 10 คน มีทรัพย์สินถาวร ไม่เกิน 1 ล้านบาท) ส่วนหนึ่งเป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อม (จ้างงาน 10-49 คน มีทรัพย์สินถาวรระหว่าง 1-10 ล้านบาท) และมีเพียงน้อยเท่านั้นที่เป็นอุตสาหกรรมขนาดกลาง (จ้างงาน 50-199 คน มีทรัพย์สินถาวรระหว่าง 10-50 ล้านบาท)

4. โรงงาน
จำนวนโรงงาน โรงงานผลิตอิฐก่อสร้าง ในปัจจุบันมีจำนวน 951 โรงงาน รวมกำลังการผลิตประมาณ 2,100,000,000 ชิ้น/ปี หรือ ประมาณ 175,000,000 ชิ้น/เดือน โรงงานผลิตอิฐจะตั้งกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ

โดยเมื่อพิจารณาใรเรื่องของการกระจุกตัวหรือความหนาแน่นของอุตสาหกรรม พบว่าการผลิตอิฐก่อสร้างทำการผลิตที่จังหวัดนครศรีธรรมราชมากที่สุด จำนวน 80 โรงงาน รองลงไปคือ จังหวัดอ่างทอง จำนวน 66 โรงงาน และจังหวัดสิงห์บุรี ตามลำดับ

เนื่องจากอุตสาหกรรมการผลิตอิฐก่อสร้างส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อม ดังนั้นขนาดโรงงานจึงค่อนข้างเล็ก

5. การตลาด
การผลิตอิฐก่อสร้าง เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคู่แข่งมาก เนื่องจากคุณลักษณะของอิฐสามารถนำสินค้าอื่นมาใช้ทดแทนได้ อาทิ คอนกรีตบล๊อค อิฐเบา อิฐโฟม อิฐแก้ว และกระจก

อิฐก่อสร้างเป็นสินค้าที่ผลิตจำหน่ายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ จึงมีเหลือส่งออกเพียงประปราย โดยในปี 2536 มูลค่าส่งออกขยับขึ้นเป็น 1 ล้านบาทเป็นปีแรก เพิ่มเป็น 4 ล้านบาท ในปี 2537 และ 3 ล้านบาทในปี 2538 โดยมีตลาดส่งออกที่สำคัญแถบอินโดจีน ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา และภูมิภาคอื่น ๆ เช่น สิงคโปร์ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา

6. ปัญหา
- ด้านวัตถุดิบ วัตถุดิบที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงหลัก เช่น ไม้ มีปริมาณลดลงอย่างรวดเร็ว- ด้านการตลาด ค่าใช้จ่ายด้านขนส่งสูงในขณะที่ราคาขายต่ำ และมีการขายตัดราคากันเอง- ด้านการผลิต ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก เทคโนโลยีที่ใช้มีความล้าหลัง และไม่มีเงินทุนใน การยกระดับพัฒนากระบวนการผลิต

ที่มา : http://www.ismed.or.th
เอกสารของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เสนอต่อคณะอนุกรรมการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมรายสาขา
กระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2546
 

รถโดยสารปรับอากาศในสาธารณรัฐประชาชนลาว

บทสรุปผู้บริหาร

Current Situation
ในปัจจุบันระบบการคมนาคมระหว่างเมืองสำคัญๆ ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้มีการพัฒนาให้สามารถรองรับความเติบโตทางเศรษฐกิจและอำนวยความสะดวกในการเดินทางได้ดียิ่งขึ้น ประกอบกับรัฐบาลลาวได้ประกาศให้ปี 1999 เป็นปีท่องเที่ยวลาว ทำให้การเดินทางโดยรถประจำทางเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แต่ในปัจจุบันรถเมล์ซึ่งดำเนินงานโดยรัฐวิสาหกิจและผู้ประกอบการรายย่อยที่รวมตัวกันเป็นสมาคมไม่สามารถสนองดีมานด์ของผู้โดยสารในแง่ของปริมาณที่ไม่เพียงพอและคุณภาพรถที่ไม่ได้มาตรฐาน ส่วนการเดินทางโดยเครื่องบิน ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงและไม่ปลอดภัย จากผลการสำรวจผู้โดยสารทั้งชาวลาวและชาวต่างประเทศพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการใช้บริการรถโดยสารปรับอากาศถึง 83% ดังนั้น บริษัท วันทองทัวร์ จำกัด จึงขอนำเสนอบริการรถโดยสารปรับอากาศที่มีความสะดวกสบาย ตรงต่อเวลา และความปลอดภัยตรงกับความต้องการของผู้โดยสารข้างต้น

Operation
บริษัท วันทองทัวร์ จำกัด เป็นผู้นำในด้านรถโดยสารปรับอากาศที่มีความทันสมัย ที่ให้บริการในเส้นทางระหว่าง 4 เมืองใหญ่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คือ เวียงจันทน์ หลวงพระบาง สะหวันเขต และปากเซ โดยพนักงานต้อนรับบนรถได้รับการฝึกอบรมให้มีอัธยาศัย เป็นกันเองต่อผู้โดยสาร เน้นที่ความปลอดภัยและตรงต่อเวลาในการเดินทาง รวมทั้งมีบริการอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่มที่ถูกสุขลักษณะ และมีวีดิโอเพื่อความบันเทิงบนรถ
นอกจากนี้ บริษัทยังได้เน้นมาตรฐานในการบริการเพื่อสร้างความประทับใจให้ผู้โดยสารและต้องการกลับมาใช้บริการอีกครั้ง รวมทั้งมีการตรวจสอบและบำรุงรักษาสภาพรถให้มีความพร้อมสำหรับการเดินทางที่ปลอดภัย และมีประกันภัยบุคคลที่ 3 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจในการเดินทาง

Marketing
บริษัท วันทองทัวร์ จำกัด มีการจัดการทางด้านตลาด โดยเน้นการโฆษณาประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น การโฆษณาผ่านทางหนังสือพิมพ์ แผ่นพับ วิทยุกระจายเสียง การให้ส่วนลดตั๋วโดยสารแก่ข้าราชการ เป็นต้น เพื่อให้เป็นที่รู้จักและกระตุ้นยอดขาย โดยกลุ่มเป้าหมายหลักจะเป็นเจ้าของกิจการ นักธุรกิจ ข้าราชการ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และกลุ่มเป้าหมายรองจะเป็นประชาชนทั่วไป สำหรับการจำหน่ายตั๋วโดยสารจะจำหน่ายที่สำนักงานเวียงจันทน์ สถานีขนส่งทั้ง 4 เมือง ตัวแทนท่องเที่ยว และตัวแทนจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน ซึ่งบริษัทคิดว่าจะมีผู้โดยสารในสายเหนือ (เวียงจันทน์ - หลวงพระบาง) ประมาณ 320,000 คนต่อปี และผู้โดยสารในสายใต้ (เวียงจันทน์-สะหวันเขต-ปากเซ) ประมาณ 270,000 คนต่อปี สำหรับการขยายเส้นทางจะเลือกเส้นทางที่สามารถเชื่อมไปยังชายแดนเวียตนาม

Financial
1. แหล่งเงินทุน มาจากนักลงทุนชาวไทยจำนวน 10 ล้านบาท หรือเท่ากับ 1,350 ล้านกีบ และกู้เงินจากธนาคารการค้าต่างประเทศลาว จำนวน 12.5 ล้านบาท หรือ 1687.5 ล้านกีบ ระยะเวลาการไถ่ถอน 3 ปี
2. ผลประกอบการที่สำคัญ ของสำนักงานใหญ่
บริษัทมียอดขายเฉลี่ยปีละ 3,000 ล้านกีบ (22 ล้านบาท) มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value) 7,283,914 บาท โดยคิดค่าของทุนที่ 30% อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (Internal Rate of Return: IRR) 42% ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) 2 ปี 6 เดือน Return on Equity 38% ในปีที่ 8

ที่มา แผนธุรกิจจากโครงการทางธุรกิจประเภทแผนธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 
 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2011. BOX20-09 - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger