สรุปย่อผลการศึกษาวิจัยธุรกิจอู่ซ่อมรถยนต์

ภาพรวมโครงการ
การศึกษาวิจัยธุรกิจซ่อมบำรุงรถยนต์ในครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงเปรียบเทียบเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของธุรกิจอู่ซ่อมบำรุงรถยนต์ 4 ล้อ โดยศึกษาในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ปทุมธานี นนทบุรี อยุธยา ชลบุรี เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา และสงขลา  ซึ่งแยกการสำรวจเป็น
สำรวจผู้ประกอบการอู่ซ่อมรถยนต์   จำนวน  300  ราย

สำรวจผู้ใช้รถยนต์                      จำนวน  700  ราย 


การวิเคราะห์ด้านอุปสงค์และอุปทาน


การวิเคราะห์ด้านอุปสงค์  เป็นการวิเคราะห์ความต้องการของตลาดบริการซ่อมบำรุงรถยนต์ 2 ด้าน คือ

วิเคราะห์จากจำนวนการจดทะเบียนที่เพิ่มขึ้น  ของกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ซึ่งพบว่า ตั้งแต่ปี 2540 2545 มีอัตราการใช้รถยนต์เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยปีละ 348,437 คัน โดยอีก 10 ปีข้างหน้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้น ประมาณ 10,232,286 คัน ซึ่งผู้ใช้รถยนต์ใหม่ส่วนใหญ่จะนิยมใช้บริการการศูนย์บริการ ส่วนที่มีอายุการใช้งานมากกว่า   5 ปี หรือรถที่มีการจดทะเบียนจนถึงปี 2541 จำนวนประมาณ 5,369,672 คัน จะถือว่าเป็นลูกค้าอู่ซ่อมรถยนต์

 

สรุปผลการศึกษาวิจัยธุรกิจเสริมสวย


ลักษณะร้านเสริมสวย
            จากการสำรวจข้อมูลของบริษัทจำหน่ายผลิตภัณฑ์เวชสำอาง มีการประมาณการจำนวนร้านเสริมสวยอยู่ที่ประมาณ 300,000 กว่าราย จากรายงานการสำรวจธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ พ.ศ. 2542 และ พ.ศ. 2543 ทั่วราชอาณาจักร ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ สำรวจร้านเสริมสวยทั้งสิ้น 827 และ 762 แห่ง พบว่า ร้านเสริมสวยส่วนใหญ่มีรูปแบบการจัดตั้งเป็นส่วนบุคคลมากกว่าร้อยละ 90 เมื่อพิจารณาสถิติการจดทะเบียนร้านเสริมสวยของกระทรวงพาณิชย์ พ.. 2547 พบว่ามีประมาณมากกว่า 400 แห่ง

การจัดแบ่งขนาดร้านเสริมสวย
            จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติและกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจำแนกร้านเสริมสวยตามจำนวนพนักงาน โดยขนาดขนาดเล็ก มีพนักงานต่ำกว่า  5 คน- ขนาดกลาง มีพนักงาน จำนวน 5-9 คน  และขนาดใหญ่  มีพนักงานมากกว่า 10 คน ขึ้นไป

 
 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2011. BOX20-09 - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger