อุตสาหกรรมอิฐก่อสร้าง

1. ลักษณะโดยทั่วไป

การทำอิฐก่อสร้างได้ทำกันมานานแล้ว โดยทำกันเป็นอุตสาหกรรมในครอบครัวในแถบชนบท ขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้างตามความนิยมของทิ้งถิ่น ต่อมาได้มีการตั้งโรงงานใช้เครื่องจักรทำกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน การผลิตทำได้ในปริมาณที่มากขึ้น

วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตได้แก่ ดินเหนียว ทราย แกลบ น้ำ และเชื้อเพลิง เช่น ฟืน กรรมวิธีการผลิตโดยทั่วไป คือ การนำเดินเหนียวมาหมักและนวดผสมจนได้ที่ แล้วเอามาปั้นหรือพิมพ์ให้ได้ขนาดตามที่ต้องการเสร็จแล้วจึงเอาไปผึ่งลมหรือแดด เมื่อแห้งจึงนำไปเผาในเตาเผาอิฐจนสุก แล้วปิดเตาเพื่อให้ความร้อนค่อย ๆ เย็นลง เมื่อเตาเย็นแล้วจึงขนอิฐออกมา เพื่อนำไปใช้งานต่อไป

สีของอิฐที่เผาแล้วจะมีสีแตกต่างกันออกไป อันเนื่องมาจากสาเหตุ ได้แก่ ส่วนผสมขอเหล็กอ๊อกไซด์ หรือแมงกานีสอ๊อกไซด์ในเนื้อดินเหนียว ความแห้งของเนื้อดินก่อนที่จะเผา

2. ต้นทุนการผลิต
อุตสาหกรรมอิฐก่อสร้างจะใช้วัตถุดิบภายในประเทศทั้งหมด ซึ่งสามารถหาได้โดยทั่ว ๆ ไป ตามท้องถิ่นต่าง ๆ ในประเทศไทย ซึ่งสามารถแสดงโครงสร้างของต้นทุนต่าง ๆ ให้เห็นได้คร่าว ๆ ดังนี้

3. ลักษณะอุตสาหกรรม
ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน (จ้างงานต่ำกว่า 10 คน มีทรัพย์สินถาวร ไม่เกิน 1 ล้านบาท) ส่วนหนึ่งเป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อม (จ้างงาน 10-49 คน มีทรัพย์สินถาวรระหว่าง 1-10 ล้านบาท) และมีเพียงน้อยเท่านั้นที่เป็นอุตสาหกรรมขนาดกลาง (จ้างงาน 50-199 คน มีทรัพย์สินถาวรระหว่าง 10-50 ล้านบาท)

4. โรงงาน
จำนวนโรงงาน โรงงานผลิตอิฐก่อสร้าง ในปัจจุบันมีจำนวน 951 โรงงาน รวมกำลังการผลิตประมาณ 2,100,000,000 ชิ้น/ปี หรือ ประมาณ 175,000,000 ชิ้น/เดือน โรงงานผลิตอิฐจะตั้งกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ

โดยเมื่อพิจารณาใรเรื่องของการกระจุกตัวหรือความหนาแน่นของอุตสาหกรรม พบว่าการผลิตอิฐก่อสร้างทำการผลิตที่จังหวัดนครศรีธรรมราชมากที่สุด จำนวน 80 โรงงาน รองลงไปคือ จังหวัดอ่างทอง จำนวน 66 โรงงาน และจังหวัดสิงห์บุรี ตามลำดับ

เนื่องจากอุตสาหกรรมการผลิตอิฐก่อสร้างส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อม ดังนั้นขนาดโรงงานจึงค่อนข้างเล็ก

5. การตลาด
การผลิตอิฐก่อสร้าง เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคู่แข่งมาก เนื่องจากคุณลักษณะของอิฐสามารถนำสินค้าอื่นมาใช้ทดแทนได้ อาทิ คอนกรีตบล๊อค อิฐเบา อิฐโฟม อิฐแก้ว และกระจก

อิฐก่อสร้างเป็นสินค้าที่ผลิตจำหน่ายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ จึงมีเหลือส่งออกเพียงประปราย โดยในปี 2536 มูลค่าส่งออกขยับขึ้นเป็น 1 ล้านบาทเป็นปีแรก เพิ่มเป็น 4 ล้านบาท ในปี 2537 และ 3 ล้านบาทในปี 2538 โดยมีตลาดส่งออกที่สำคัญแถบอินโดจีน ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา และภูมิภาคอื่น ๆ เช่น สิงคโปร์ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา

6. ปัญหา
- ด้านวัตถุดิบ วัตถุดิบที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงหลัก เช่น ไม้ มีปริมาณลดลงอย่างรวดเร็ว- ด้านการตลาด ค่าใช้จ่ายด้านขนส่งสูงในขณะที่ราคาขายต่ำ และมีการขายตัดราคากันเอง- ด้านการผลิต ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก เทคโนโลยีที่ใช้มีความล้าหลัง และไม่มีเงินทุนใน การยกระดับพัฒนากระบวนการผลิต

ที่มา : http://www.ismed.or.th
เอกสารของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เสนอต่อคณะอนุกรรมการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมรายสาขา
กระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2546
Share this article :
 
 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2011. BOX20-09 - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger