อุตสาหกรรมกระจก

กระจกเป็นวัสดุก่อสร้างที่ทำให้งานก่อสร้าง บ้าน อาคาร สำนักงาน และเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้กระจกตกแต่ง สวยงาม โดนเด่น ประหยัด ประหยัด และปลอดภัย ปัจจุบันมีโรงงานผลิตกระจกแผ่นเรียบ 3 บริษัทจำนวน 8 โรงงาน ตั้งอยู่ในจังหวัดสระบุรี สมุทรปราการ ชลบุรี และระยอง มีกำลังการผลิตประมาณ 842,000 ตัน/ปี เกิดการจ้างแรงงาน 2,800 คน เงินลงทุน 15,726 ล้านบาท อุตสาหกรรมกระจกมีการรวมตัวเป็นกลุ่มบริษัท โดยใช้การผลิตเทคโนโลยีสมัยใหม่และเป็นแบบสำเร็จรูป รับทั้ง know-how และเครื่องจักรมาจากต่างประเทศ ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตเทียบได้ในระดับสากล โดยใช้วัตถุดิบที่ผลิตได้ในประเทศเป็นหลัก เช่น ทรายแก้ว เฟลด์สปาร์ โดโลไมต์ และหินปูน ทั้งยังก่อให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมกระจกนิรภัย กระจกเงา และการแปรรูปกระจกอีกประมาณ 15 โรงงาน การจ้างงานกว่า 1,500 คน เงินลงทุน 4,580 ล้านบาท แต่จากข้อจำกัดของเทคโนโลยีที่ไม่มีความยืดหยุ่นในการผลิตและเป็นการอุตสาหกรรมที่อาศัยปัจจัยทางด้านพลังงานเป็นสำคัญ เพราะต้องเดินเครื่องจักร ตลอด 24 ชั่วโมงทำให้มีจุดคุ้มทุนสูง ประกอบกับเป็นอุตสาหกรรมที่ตอบสนองความต้องการใช้ภายในประเทศเป็นหลัก

ผลิตภัณฑ์กระจกแผ่น

ผลิตภัณฑ์กระจกขั้นพื้นฐาน

กระจกโฟลตใส (Clear Float Glass)
กระจกโฟลตสีตัดแสง (Tinted Float Glass)
กระจกลวดลาย (Figured Glass)
กระจกชนิดบางพิเศษ (Ultra Thin Glass)
กระจกชนิดใสพิเศษ (Ultra Clear Glass)
กระจกชนิดผิงเรียบพิเศษ (Ultra Flat Glass)
โครงสร้างผนังกระจกสูงขนาดใหญ่ (Glacade)


ผลิตภัณฑ์กระจกแปรรูป


กระจกฝ้า (Ground Glass)
กระจกเงา (Mirror)
กระจกสะท้องแสง (Heat Reflective Glass)
กระจกฉนวนความร้อน (Insulating Glass Unit)
กระจกฉนวนความร้อน โลว-อี (Low-E Insulating Glass Unit)
กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Safety Glass)
กระจกกึ่งนิรภัย (Heat Strengthened Glass)
กระจกนิรภัยหลายชั้น (Laminated Safety Glass)
กระจกเคลือบสี (Vanished Glass)

การผลิต

กำลังการผลิตรวม 842,000 ตัน/ปี ในปี 2545 ปริมาณการผลิตประมาณร้อยละ 80

การส่งออก

ในปี 2545 การส่งออกกระจกแผ่นสำหรับการก่อสร้าง มีมูลค่าประมาณ 6,040 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2544 ร้อยละ 24.62

การนำเข้า

ในปี 2545 การนำเข้ากระจกแผ่นสำหรับการก่อสร้าง มีมูลค่าประมาณ 1,105.5 ล้านบาท เพิ่มมากขึ้นจากปี 2544 ร้อยละ 31.28

ตลาด

ประเทศที่ไทยนำเข้ากระจกแผ่นสำหรับการก่อสร้างที่มีมูลค่ามากที่สุด ได้แก่ ญี่ปุ่น คือมีมูลค่า 309.1 ล้านบาท รองลงมาได้แก่ สหรัฐอเมริกา และ มาเลเชีย มีมูลค่า 168.8 และ 121.1 ล้านบาทตามลำดับ


จากการใช้นโยบายการค้าเสรี ซึ่งได้มีการปรับเปลี่ยนเพื่อปฏิบัติตามข้อตกลงต่าง ๆ ทำให้มีผลกระทบต่อธุรกิจในประเทศ เช่น การปรับลดอากรขาเข้าในภูมิภาคอาเชียนเป็นเหตุให้ต่างประเทศเข้ามาแย่งตลาดภายในประเทศได้ประมาณร้อยละ 10-13 ต่อปี คู่แข่งของไทยในภูมิภาคนี้ คือ อินโดนีเชีย และมาเลเชีย

ปัญหาและอุปสรรค


1. ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง และเงินลงทุนจำนวนมาก
2. ปัญหา Over Supply ของอุตสาหกรรมกระจก
3. ขาดการกำกับดูแลให้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร
4. ผู้ออกแบบ/ผู้เกี่ยวข้อง ขาดความรู้ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์กระจก แต่ละชนิด
5. การทุ่มตลาดจากต่างประเทศ

ยุทธศาสาตร์/แนวทางแก้ไขปัญหาที่ภาคอุตสาหกรรมเห็นว่ารัฐบาลควรดำเนินการ


1. สนับสนุนให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มความต้องใช้กระจกในประเทศ
2. กำกับ ดูแลมีการให้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร ของกรมโยธาธิการอย่างจริงจัง
3. ส่งเสริม/ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในผลิตภัณฑ์กระจกแก่ผู้ออกแบบ/ผู้เกี่ยวข้อง อย่างกว้างขวาง
4. กำหนดให้ผู้รับเหมาโครงการใช้วัสดุก่อสร้างที่ได้มาตรฐานและมีการผลิตในประเทศเป็นหลัก
5. แผนงาน/โครงการก่อสร้างของภาครัฐควรเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ภาคเอกชนทราบอย่างทั่วถึง

ข้อเสนอแนะ


1. จัดทำฐานข้อมูลสำหรับโครงการก่อสร้างในอนาคต ทั้งของภาครัฐและเอกชน ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน อาคารสูง ที่พักอาศัย และอื่นๆ รวมทั้งฐานข้อมูลโครงการต่างๆ ในอุตสาหกรรมที่มีกระจกเป็นวัตถุดิบในการผลิต เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น เพื่อผู้ประกอบการจะสามารถนำมาใช้ในการคาดการณ์ปริมาณความต้องการการใช้กระจกในอนาคต
2. แนวทางการจัดแสดงสินค้าควรนำกฏหมายเกี่ยวกับอาคารและการก่อสร้างมาเป็นวัตถุประสงค์หลัก เพื่อความเข้าใจของผู้บริโภคสำหรับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและเป็นไปตามกฎหมาย โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์กระจกมีข้อกฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้อง การเลือกซื้อหรือติดตั้งกระจกให้ถูก
3. แนวทางปฏิบัติสำหรับ Anti Dumping ปัจจุบันการเปิดไต่สวนกรณีการทุ่มตลาดของประเทศไทยนั้น ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือที่เพียงพอจากรัฐบาลเหมือนต่างประเทศ กล่าวคือ รัฐฯ ควรช่วยในเรื่องการทุ่มตลาด โดยการหาข้อมูลของประเทศที่ทุ่มตลาดเข้ามาในไทยและผู้ผลิตในประเทศให้แสดงเพียงความเสียหายที่เกิดขึ้น เช่น ยอดขายลดลง ขาดทุนจากที่เคยได้กำไร
นอกจากนั้นเมื่อรัฐฯ รับเรื่องมาว่ามีมูล ควรหามาตรการเพื่อชะลอปริมาณการนำเข้าจนกว่าคดีจะยุติ เพื่อชะลอความเสียหายที่จะเกิดเพิ่มมากขึ้นกับผู้ผลิตภายในประเทศ

โครงการรองรับ

1. ฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้ออกแบบ/ผู้เกี่ยวข้อง/ผู้สนใจ ทั้งหน่วยงาน ภาครัฐและเอกชน
2. ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การใช้ผลิตภัณฑ์กระจกผ่านสื่อต่าง ๆ
3. ศึกษา วิจัย การประหยัดพลังงานในอาคารและที่อยู่อาศัย
4. ศึกษา วิจัย การใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดต้นทุนการผลิตในประเทศ

ประโยชน์ที่จะได้รับ


1. ผู้ออกแบบ/ผู้เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์กระจกและนำไปใช้งานได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
2. การใช้ผลิตภัณฑ์กระจกในธุรกิจสังหาริมทรัพย์ เฟอร์นิเจอร์ ในประเทศเพิ่มสูงขึ้น
3. อุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้กระจกเป็นวัตถุดิบในการผลิตเพิ่มขึ้น
4. การจ้างงานในอุตสาหกรรมกระจกเพิ่มสูงขึ้น
5. ลดปริมาณและมูลค่าการนำเข้ากระจกจากต่างประเทศ

ที่มา : http://www.ismed.or.th
เอกสารของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เสนอต่อคณะอนุกรรมการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมรายสาขา กระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2546
Share this article :
 
 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2011. BOX20-09 - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger