สรุปย่อผลการศึกษาวิจัยธุรกิจอู่ซ่อมรถยนต์

ภาพรวมโครงการ
การศึกษาวิจัยธุรกิจซ่อมบำรุงรถยนต์ในครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงเปรียบเทียบเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของธุรกิจอู่ซ่อมบำรุงรถยนต์ 4 ล้อ โดยศึกษาในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ปทุมธานี นนทบุรี อยุธยา ชลบุรี เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา และสงขลา  ซึ่งแยกการสำรวจเป็น
สำรวจผู้ประกอบการอู่ซ่อมรถยนต์   จำนวน  300  ราย

สำรวจผู้ใช้รถยนต์                      จำนวน  700  ราย 


การวิเคราะห์ด้านอุปสงค์และอุปทาน


การวิเคราะห์ด้านอุปสงค์  เป็นการวิเคราะห์ความต้องการของตลาดบริการซ่อมบำรุงรถยนต์ 2 ด้าน คือ

วิเคราะห์จากจำนวนการจดทะเบียนที่เพิ่มขึ้น  ของกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ซึ่งพบว่า ตั้งแต่ปี 2540 2545 มีอัตราการใช้รถยนต์เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยปีละ 348,437 คัน โดยอีก 10 ปีข้างหน้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้น ประมาณ 10,232,286 คัน ซึ่งผู้ใช้รถยนต์ใหม่ส่วนใหญ่จะนิยมใช้บริการการศูนย์บริการ ส่วนที่มีอายุการใช้งานมากกว่า   5 ปี หรือรถที่มีการจดทะเบียนจนถึงปี 2541 จำนวนประมาณ 5,369,672 คัน จะถือว่าเป็นลูกค้าอู่ซ่อมรถยนต์


วิเคราะห์จากรถที่เข้าทำการซ่อมอย่างชัดเจน คือรถที่มีการเสียหายจากอุบัติเหตุ จากข้อมูลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จากการพยากรณ์ทางสถิติพบว่าตั้งแต่ปี 2540-2545 จำนวนรถยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุมีแนวโน้มลดลง ในอัตรา 353 คันต่อปี ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับจำนวนรถยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุทั้งหมด ดังนั้นจำนวนรถยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุยังคงมีปริมาณสูง ซึ่งเป็นโอกาสของธุรกิจ และมีแนวโน้มการตั้งอู่ซ่อมรถยนต์เพิ่มขึ้น ทำให้ในอนาคตอาจมีการแข่งขันกันมาก โดยเฉพาะอู่ที่เป็นตัวถัง และ เคาะพ่นสี แต่ส่งผลดีกับอู่ที่ติดต่อกับประกันภัยหรืออู่ที่ไม่ได้ติดต่อกับประกันภัยแต่มีบริการเสริม เช่น การรับลากรถ บริการให้รถใช้ระหว่างซ่อมฯลฯ

การวิเคราะห์ด้านอุปทาน  เป็นการวิเคราะห์ตลาดบริการซ่อมบำรุงรถยนต์ โดยใช้ข้อมูลของผู้ประกอบธุรกิจที่จดทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม ตั้งแต่ปี 2540-2545 ซึ่งพบว่า มีอัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ย ปีละ 333 อู่ และอีก10 ปีข้างหน้า(ปี 2555) จะมีอู่ซ่อมรถยนต์จำนวนประมาณ 10,281 อู่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการให้บริการที่ไม่ครบวงจรเนื่องจากมีการลงทุนสูง ทำให้อู่มีการเลือกให้บริการบางประเภท ทำให้ผู้ใช้บริการมีสะดวก ซึ่งถือว่าเป็นจุดอ่อนของอู่ซ่อมรถยนต์ทั่วไป  สำหรับในปัจจุบันธุรกิจนี้ถือว่าเป็นสภาวะที่มีการส่งเสริมและเอื้อต่อการเปิดกิจการ ซึ่งจะเห็นจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์และการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินที่เพิ่มขึ้น    

ผลการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจซ่อมบำรุงรถยนต์

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ใช้บริการ พบว่านิยมนำรถไปซ่อมบำรุงที่ศูนย์บริการ เพราะมีความมั่นใจในคุณภาพและบริการ  เฉลี่ยประมาณ 2-4 เดือนต่อครั้ง โดยใช้บริการประเภทเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง และมีค่าใช้จ่ายประมาณ 300 3,500 บาทต่อครั้ง ซึ่งผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ต้องการให้อู่   มีการปรับปรุงด้านคุณภาพของงานซ่อม และต้องการให้ภาครัฐเข้ามากำกับดูแลด้านมาตรฐานการซ่อมและราคา

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ประกอบธุรกิจ พบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต้องการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขัน และต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนด้านการเงินมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการตลาดและลูกค้า ด้านกระบวนการภายใน และด้านบุคลากรและเทคโนโลยี
ผลการวิเคราะห์และแผนกลยุทธ์การส่งเสริมธุรกิจ

    ผลการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค(SWOT Analysis) 

จุดแข็ง
จุดอ่อน
ราคาถูก  คุณภาพงานซ่อมดี  บริการรวดเร็ว ทำเลที่ตั้งสะดวก ช่างฝีมือดี
ลูกค้าน้อย  เวลาซ่อมนาน ไม่มีชื่อเสียง    ขาดสภาพคล่องทางการเงิน ไม่สามารถซ่อมงานบางประเภทได้
โอกาส
อุปสรรค
ราชการเลิกซ่อมเองโดยให้มีการจ้างอู่แทน
ดอกเบี้ยต่ำ มีโอกาสขยายกิจการ
รัฐมีการส่งเสริมการประกันคุณภาพอู่
ปริมาณการใช้รถยนต์มีเพิ่มขึ้น
มีการรวมกลุ่มของผู้ประกอบธุรกิจ
มีการแข่งขันสูง
รัฐมีการควบคุมพื้นที่ดำเนินกิจการ
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคมีความเข้มงวด
ปัญหาการจ่ายเงินของประกันภัย
ขาดการส่งเสริมจากภาครัฐ

    ผลการวิเคราะห์ด้านความต้องการของผู้ประกอบการ   แยกเป็นความต้องการเพิ่มศักยภาพและการสนับสนุนจากภาครัฐ

ความต้องการเพิ่มศักยภาพ
การสนับสนุนจากภาครัฐ
ลดต้นทุนการดำเนินงาน

ปรับปรุงความรวดเร็วในการบริการ

สร้างมาตรฐานเพื่อสร้างความมั่นใจให้ลูกค้า
ส่งเสริมให้มีการฝึกทักษะ และฝีมือช่าง
ขยายพื้นที่อู่เพื่อเพิ่มความสะดวก
ออกใบรับรองให้กับอู่ที่ได้รับมาตรฐาน
ประชาสัมพันธ์ข่าวสารอู่ที่มีคุณภาพ
จัดหาแหล่งเงินทุน
จัดหาที่ปรึกษาช่วยปรับปรุงวิธีการทำงาน
ส่งเสริมฝึกอบรมในด้านต่าง ๆ





    แผนกลยุทธ์การส่งเสริมธุรกิจซ่อมบำรุงรถยนต์
เป็นการจัดทำแผนกกลยุทธ์เพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าต่อธุรกิจซ่อมบำรุงรถยนต์คือ การสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจซ่อมบำรุงรถยนต์ โดยมีมุมมองด้านการพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยี กระบวนการทำงานหรือการส่งเสริมเพื่อตอบสนองต่อผู้ประกอบการ  



--------------------



สำนักส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

โทร. 0 2547 5050 ต่อ 3182

 

Share this article :
 
 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2011. BOX20-09 - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger