เตรียมตัวเกษียณตั้งแต่เริ่มต้นทำงาน

ทำไมต้องเตรียมตัวเกษียณตั้งแต่เริ่มต้นทำงาน

ถ้าพูดถึงเรื่องของการเตรียมตัวเกษียณเชื่อว่าหัวข้อดังกล่าวนักลงทุน หลาย ๆ ท่านอาจจะมองว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างไกลตัว   ถ้ายิ่งนักลงทุนที่ยังอายุไม่มากนักก็ยิ่งคิดว่าเป็นหัวข้อที่อาจจะไม่ได้ น่าสนใจอะไร ความสำคัญของเรื่องการเตรียมตัวเกษียณนั้นผมคิดว่าถ้ามองจากมุมของตัวเราเอง อาจจะเป็นไปได้ที่พวกเราจะรู้สึกตระหนักเรื่องเหล่านี้ก็ต่อเมื่ออายุมาก ขึ้นเท่านั้น แต่ถ้าเราประเมินเรื่องนี้ในระดับของมหภาค เราอาจจะมีมุมมองที่เปลี่ยนไป

เมื่อไม่นานมานี้ผมได้มีโอกาสอ่านงานวิจัยฉบับหนึ่งเกี่ยว กับการคาดการณ์โครงสร้างของประชากรในอนาคต ซึ่งจัดทำโดยศาสตราจารย์ ปราโมทย์ ประสาทกุล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์ ซึ่งเป็น อาจารย์ ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล รายงานฉบับดังกล่าวนี้เป็นการคาดการณ์ถึงโครงสร้างประชากรในอนาคตของประเทศ ไทยว่าจะออกมาเป็นรูปแบบใด งานวิจัยฉบับนี้บอกว่ามีโอกาสสูงมากที่การเพิ่มของประชากรไทยในอนาคตนั้นจะ เป็นลักษณะอัตราลดลง ซึ่งแน่นอนว่าในอนาคตนั้นเราอาจจะพบว่าประชาการในวัยเด็กและวัยทำงานน่าจะลด น้อยลง

งานวิจัยดังกล่าวยังระบุต่ออีกว่าแนวโน้มของผู้สูงอายุ นั้นมีอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้นมากจนสังคมไทยในอนาคตนั้นมีแนวโน้มที่จะกลาย เป็นสังคมของผู้สูงอายุเลยทีเดียวครับ ซึ่งตรงจุดนี้มีการประเมินโดยใช้ดัชนีที่ชื่อว่า Aging Index ดัชนีดังกล่าวเป็นการเทียบอัตราส่วนของจำนวนประชากรสูงอายุ (อายุ 60ปีขึ้นไป) ต่อจำนวนประชากรวัยเด็ก (อายุต่ำกว่า 15 ปี) 100คน เช่นถ้าดัชนีอยู่ที่ 15 ซึ่งต่ำกว่า 100 หมายความว่ามีผู้สูงอายุ 15 คนต่อเด็ก 100คน เป็นต้น ดัชนี Aging Index นั้นคาดการณ์ว่าในปี 2558 ตัวเลขดัชนีจะอยู่ที่ 73.4 และในปี 2578 ดัชนีจะอยู่ที่ 174.4 ซึ่งหมายความว่าในเด็ก 100 คนจะมีผู้สูงอายุอยู่ประมาณ 174 คน



จากตัวเลขของดัชนี Aging Index นั้นผมเชื่อว่าน่าจะทำให้เราเห็นภาพกว้าง ๆ ของประชากรไทยในอนาคตว่ามีแนวโน้มที่จะมีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ในงานวิจัยชุดนี้ยังมีตัวเลขที่ผมเห็นว่ามีความน่าสนใจซึ่งก็คือ อัตราส่วนการพึ่งพิง (Dependency Ratio)

Dependency Ratio นั้นคืออัตราส่วนระหว่างประชากรเด็กและประชากรผู้สูงอายุต่อประชากรวัยทำงาน (สัดส่วนดังกล่าวมีสมมุติฐานให้ประชากรเด็ก (ต่ำกว่า 15 ปี ) และ ผู้สูงอายุ (อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป) อยู่ในวัยที่ต้องพึ่งพิงผู้อื่นครับ) ค่าของ Dependency Ratio นั้นถ้ายิ่งมากแสดงให้เห็นว่ามีผู้ที่ต้องพึ่งพิงวัยทำงานมากนั้นเองครับ

ในงานวิจัยบ่งชี้ว่าในปี 2558 นั้นมี Dependency Ratio อยู่ที่ 49.3 โดยมาจากอัตราส่วนการพึ่งพิงของวัยเด็กเท่ากับ 28.4 และมาจากอัตราส่วนการพึ่งพิงของวัยชราเท่ากับ 20.9 และในปี 2578 นั้น Dependency Ratio อยู่ที่ 65.2 ซึ่งมาจากอัตราส่วนการพึ่งพิงของวัยเด็กเท่ากับ 23.7 และ อัตราส่วนการพึ่งพิงของวัยชราเท่ากับ 41.4

ถ้าพูดถึงเรื่องของการเตรียมตัวเกษียณเชื่อว่าหัวข้อดัง กล่าวนักลงทุนหลาย ๆ ท่านอาจจะมองว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างไกลตัว ถ้ายิ่งนักลงทุนที่ยังอายุไม่มากนักก็ยิ่งคิดว่าเป็นหัวข้อที่อาจจะไม่ได้ น่าสนใจอะไร ความสำคัญของเรื่องการเตรียมตัวเกษียณนั้นผมคิดว่าถ้ามองจากมุมของตัวเราเอง อาจจะเป็นไปได้ที่พวกเราจะรู้สึกตระหนักเรื่องเหล่านี้ก็ต่อเมื่ออายุมาก ขึ้นเท่านั้น แต่ถ้าเราประเมินเรื่องนี้ในระดับของมหภาค เราอาจจะมีมุมมองที่เปลี่ยนไปครับ

ข้อสังเกตที่น่าคิดเป็นอย่างยิ่งก็คือตัวเลขการพึ่งพิงของ วัยชรานั้นเพิ่มขึ้นสูงมากและเป็นสัดส่วนหลักของ Dependency Ratio ด้วย ถ้าเราลองสวมบทบาทเป็นรัฐบาลหรือหน่วยงานกลางเราคงต้องเริ่มตระหนักแล้วว่า ในอนาคตของประเทศเรานั้นกำลังจะกลายเป็นสังคมของผู้สูงอายุไปซะแล้ว มาตราการหรือสวัสดิการของผู้สุงอายุน่าจะต้องมีออกมามากขึ้นและนั้นก็น่าจะ ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในอนาคต

ตัวเลขที่น่าสนใจและผมเชื่อว่าน่าจะมีนัยสำคัญมากทีเดียว นั่นก็คือ ตัวเลขอัตราส่วนของจำนวนคนในวัยแรงงาน (อายุ 15-59 ปี) ต่อ ผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปี) 1 คน อัตราส่วนนี้เรียกว่า อัตราส่วนเกื้อหนุนผู้สูงอายุ ซึ่งมีความหมายว่าผู้สูงอายุคนหนึ่งจะมีผู้สามารถช่วยเหลือดูแลได้กี่คน ปรากฎว่าตัวเลขที่ออกมาน่าตกใจเป็นอย่างมากเนื่องจากว่าในปี 2503 นั้นอัตราส่วนดังกล่าวเท่ากับ 12 คน ซึ่งหมายถึงมีคนวัยทำงาน 12 คนที่เลี้ยงดูคนสูงอายุ 1 คน และในปี2578 นั้นสัดส่วนนี้จะเหลือเพียงแค่ 2.4 คนเท่านั้น

ตัวเลขจากงานวิจัยของอาจารย์สองท่านนี้แสดงให้เห็นว่าใน อนาคตผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะต้องพึ่งตัวเองมากขึ้นคงจะยากที่จะคิดมาพึ่ง บุตรหลานแต่เพียงอย่างเดียว ยิ่งถ้าเราเป็นผู้สูงอายุที่ไม่มีเงินเก็บ บุตรหลานเราก็จะมีจำนวนน้อยลงไปด้วย ในทางกลับกันถ้าเราเป็นผู้สูงอายุที่มีทรัพย์สินเงินทองมากพอ ก็จะมีญาติห่าง ๆ อีกมากมายที่พร้อมจะสวมรอยเป็นบุตรหลานมาคอยดูแลเรามากขึ้น

ย้อนกลับมาที่คำถามแรกของผมซึ่งก็คือการเตรียมตัวสำหรับ เกษียณ ถ้าวันนี้เราเริ่มเก็บออมกันตั้งแต่ช่วงแรกของวัยทำงานไม่ว่าจะเป็นการออมใน รูปแบบของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รูปแบบของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)  หรือการเก็บออมในรูปแบบอื่นต่างก็ช่วยให้เราสามารถลดการพึ่งพิงผู้อื่นในยามชราได้ครับ  โดยเราอาจจะลองตั้งเป้าหมายดูเช่นถ้าเราต้องการมีเงินใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณประมาณ 40,000 บาท เราควรจะมีเงินเก็บประมาณ 7,000,000 บาท (สมมุติให้อายุหลังเกษียณเท่ากับ 25ปี ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนหลังเกษียณ 5%) การจะมีเงินเก็บถึง 7,000,000 บาทนั้นถ้าเราเก็บออมตอนอายุ 50 ปี (สมมุติให้ผลตอบแทนจากการออมและการลงทุนเท่ากับ 8%ต่อปี) เราต้องเก็บเดือนละ ประมาณ 38,500 บาท แต่ถ้าเราเริ่มเก็บตั้งแต่อายุ 40 ปี เราจะพบว่าเราเก็บเดือนละประมาณ 12,200 เท่านั้น ถ้าเราเริ่มเก็บช่วงอายุ 30 ปี เราสามารถออมแค่เดือนละประมาณ 4,900 บาทและถ้าเราเริ่มเก็บตั้งแต่อายุ 20 ปี เราสามารถออมเดือนละประมาณ 2,150บาทเท่านั้น เมื่อเห็นตัวเลขที่ผมยกตัวอย่างมาแล้วเราจะทราบได้ทันทีเลยว่าการเริ่ม เตรียมตัวเกษียณไว้เร็วเท่าไหร่จำนวนเงินต่อเดือนในการแบ่งจัดสรรมาลงทุนก็ ยิ่งน้อยลง

สิ่งที่ผมอยากจะชี้ให้เห็นไม่ได้เป็นเรื่องของการออมเงิน ส่วนบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่อยากให้ทุกท่านลองสวมบทบาทเจ้าของประเทศผู้เสียภาษีดูครับ ถ้าเรายังไม่เริ่มเก็บออมกันตั้งแต่วันนี้ ในอนาคตเราเองอาจจะกลายเป็นภาระของรัฐบาล หรือภาระของผู้เสียภาษีคนอื่น ๆ ที่ต้องเข้ามาดูแล ผมเชื่อว่าทุกท่านเมื่อเห็นตัวเลขโครงสร้างประชากรที่ผมยกมาให้ดู และตัวอย่างจำนวนเงินในการเก็บออมก็คงต้องคิดเหมือนกับผมอย่างแน่นอนว่า “เริ่มเตรียมรับมือกับการเกษียณตั้งแต่วันนี้เถอะ”



ที่มา : http://www.one-asset.com/AMClub/FunblogDetail_t.asp?id=1
Share this article :
 
 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2011. BOX20-09 - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger